ระบบบริหารจัดการความรู้

โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน

Site Tools


km:department:group_science

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

Next revision
Previous revision
km:department:group_science [2016/10/15 20:41]
บรรหาร เจ๊กนอก ถูกสร้าง
km:department:group_science [2016/11/25 20:06] (ฉบับปัจจุบัน)
บรรหาร เจ๊กนอก
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-===== กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ =====+[[:​km:​start|{{:​customlogo.jpg?​direct&​300|}}]] 
 +====== กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ =====
 +[[https://​sites.google.com/​a/​bkw.ac.th/​sci/​|เข้าสู่เว็บไซต์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์]]
 ---- ----
  
-กำลังดำเนินการ...+===== ทำไมต้องเรียนวิทยาศาสตร์ ===== 
 +วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจวันแะการงานอาชีพต่าง ๆ  ตลอดจนเทคโนโลยี ​ เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ  ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน ​ เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ​ ผสมผสานกบความคิดสร้าสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ  วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ไ้พัฒนาวิธีคิด ​ ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล ​ คิดสร้างสรรค์ ​ คิดวิเคราะห์ ​ วิจารณ์ ​ มีทักษะสคัญในการค้นคว้าหาความรู้ ​ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างป็ระบบ ​ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลาหลยและมีปะจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ​ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ​ (knowledge-based society) ​ ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ ​ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ​ สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล ​ สร้างสรรค์และมีคุณธรรม 
 +===== เรียนรู้อะไรในวิทยาศาสตร์ ===== 
 +กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ​ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ​ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ​ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ​        ​มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย ​ เหมาะสมกับระดับชั้น ​ โดยได้กำหนดสาระสำคัญ ​ ไว้ดังนี้ 
 +  - สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ​ สิ่งมีชีวิต ​ หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ​ โครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิต ​ ความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ​ การทำงานของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิต ​ วิวัฒนาการและ ​                       ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ​ และเทคโนโลยีชีวภาพ 
 +  - ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ​ สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายรอบตัว ​ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อม ​ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ  ในระบบนิเวศ ​ ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ​ การใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ​ ในระดับท้องถิ่น ​ ประเทศและโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ 
 +  - สารและสมบัติของสาร ​ สมบัติของวัสดุและสาร ​ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค การเปลี่ยนสถานะ ​ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร ​ สมการเคมี ​                             และการแยกสาร ​  
 +  - แรงและการเคลื่อนที่ ​ ธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ​ แรงโน้มถ่วง ​ แรงนิวเคลียร์ การออกแรงกระทำต่อวัตถุ ​ การเคลื่อนที่ของวัตถุ ​ แรงเสียดทาน ​ โมเมนต์การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ         ​ในชีวิตประจำวัน 
 +  - พลังงาน ​ พลังงานกับการดำรงชีวิต ​ การเปลี่ยนรูปพลังงาน ​ สมบัติและปรากฏการณ์ของแสง ​ เสียง ​ และวงจรไฟฟ้า ​ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ​ กัมมันตภาพรังสีและปฏิกิริยานิวเคลียร์ ​ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงานการอนุรักษ์พลังงาน ​ ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม 
 +  - กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ​ โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก ​ ทรัพยากร ทางธรณี ​ สมบัติทางกายภาพของดิน ​ หิน ​ น้ำ ​ อากาศ ​ สมบัติของผิวโลก ​ และบรรยากาศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ​ ปรากฏการณ์ทางธรณี ​ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ 
 +  - ดาราศาสตร์และอวกาศ ​ วิวัฒนาการของระบบสุริยะ ​ กาแล็กซี ​ เอกภพ ​ ปฏิสัมพันธ์ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ​ ความสัมพันธ์ของดวงอาทิตย์ ​ ดวงจันทร์ ​ และโลก ​ ความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ 
 +  - ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ​ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ ​ การแก้ปัญหา ​ และจิตวิทยาศาสตร์ 
 + 
 +===== คุณภาพผู้เรียน ===== 
 +==== ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ===== 
 +  - เข้าใจลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์สิ่งมีชีวิต ​ ความสัมพันธ์ของ การทำงานของระบบต่าง ๆ  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ​ เทคโนโลยีชีวภาพ ​                          ​ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ​ พฤติกรรมและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต ​ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม 
 +  - เข้าใจองค์ประกอบและสมบัติของสารละลาย ​ สารบริสุทธิ์ ​ การเปลี่ยนแปลงของสาร ในรูปแบบของการเปลี่ยนสถานะ ​ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 
 +  - เข้าใจแรงเสียดทาน ​ โมเมนต์ของแรง ​ การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวัน กฎการอนุรักษ์พลังงาน ​ การถ่ายโอนพลังงาน ​ สมดุลความร้อน ​ การสะท้อน ​ การหักเหและ ​                  ​ความเข้มของแสง 
 +  - เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางไฟฟ้า ​ หลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าและหลักการเบื้องต้นของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 
 +  - เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ​ แหล่งทรัพยากรธรณี ​ ปัจจัยที่มีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ​ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ ​ และผลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ  บนโลก ความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ 
 +  - เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ​ การพัฒนาและผลของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม 
 +  - ตั้งคำถามที่มีการกำหนดและควบคุมตัวแปร ​ คิดคาดคะเนคำตอบหลายแนวทาง วางแผนและลงมือสำรวจตรวจสอบ ​ วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของข้อมูล ​                  ​และสร้างองค์ความรู้ 
 +  - สื่อสารความคิด ​ ความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบโดยการพูด ​ เขียน จัดแสดงหรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
 +  - ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดำรงชีวิต ​ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ​ ทำโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ 
 +  - แสดงถึงความสนใจ ​ มุ่งมั่น ​ รับผิดชอบ ​ รอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้ ​ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ให้ได้ผลถูกต้องเชื่อถือได้ 
 +  - ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ​ แสดงความชื่นชม ​ ยกย่องและเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น 
 +  - แสดงถึงความซาบซึ้ง ​ ห่วงใย ​ มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า ​ มีส่วนร่วมในการพิทักษ์ ​ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 
 +  - ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ ​ แสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
 + 
 +==== ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ===== 
 +  - เข้าใจกระบวนการทำงานของเซลล์และกลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต 
 +  - เข้าใจกระบวนการถ่ายทอดพันธุกรรมการแปรผันมิวเทชันวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมต่างๆ 
 +  - เข้าใจกระบวนการความสำคัญและผลเทคโนโลยีชีวภาพต่อคนสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 
 +  - เข้าใจชนิดและจำนวนอนุภาคที่เปฌนส่วนประกอบโครงสร้างอะตอมของธาตุการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเขียนสมการเคมีปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี 
 +  - เข้าใจชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและสมบัติต่างๆ 
 +  - เข้าใจชนิดสมบัติและปฏิกิริยาที่สำคัญของพอลิเมอร์และของสารชีวโมเลกุล 
 +  - เข้าใจความสำคัญระหว่างปริมาณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบต่างๆสมบัติของเครื่องกลคุณภาพของเสียงและการได้ยินสมบัติประโยชน์และโทษของแม่เหล็กไฟฟ้ากัมมันตรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ 
 +  - เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกและปรากฎการณ์ทางธรณีที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 
 +  - เข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะแกแลกซีเอกภพและความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ 
 +  - เข้าใจความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่างๆและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ผลต่อเทคโนโลยีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 
 + 
 + 
 + 
km/department/group_science.1476538892.txt.gz · แก้ไขครั้งล่าสุด: 2016/10/15 20:41 โดย บรรหาร เจ๊กนอก